สำหรับใครที่เป็นชาวเกษตรกรน่าจะทราบเป็นอย่างดีว่าในตอนนี้มีเครื่องมือทางการเกษตรที่เข้ามาเป็นเครื่องช่วยทุ่นแรงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือรถเพื่อการเกษตร เพื่อให้ชาวเกษตรกรสามารถทำกิจกรรมทางการเกษตรใดๆ ก็แล้วแต่ได้ง่ายมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนและทุ่นแรง ตลอดไปจนถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ถ้าหากจะพูดถึงเครื่องทุ่นแรงอย่างรถเพื่อการเกษตรนั้นก็มีวิธีดูแลที่แตกต่างออกไปจากรถยนต์ทั่วๆ ไปอยู่เหมือนกัน เพื่อลดปัญหาและความเสี่ยงในเรื่องของค่าซ่อม แต่จะดูแลรักษาได้อย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ทำความสะอาดสม่ำเสมอ
ขึ้นชื่อว่าเป็นรถเพื่อการเกษตร แน่นอนว่าการให้ความสำคัญกับเรื่องการทำความสะอาดคือสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แนะนำว่าให้ทำความสะอาดทุกวันจนเคยชินเพื่อเป็นการเคลียร์เศษวัสดุ เศษดิน โคลน คราบน้ำมันเครื่องต่างๆ ออกไปแบบเป็นรายวัน เพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้งานในทุกๆ วันเป็นไปอย่างคงที่ ลดการเกิดสนิม และยังช่วยให้รถเพื่อการเกษตรมีอายุการใช้งานนานมากขึ้นด้วย
หมั่นตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆ
อีกหนึ่งส่วนสำคัญของการดูแลรถเพื่อการเกษตรก็คือชิ้นส่วนต่างๆ แนะนำว่าให้หมั่นตรวจสอบความเรียบร้อยด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน็อต สกรู คือฝากครอบต่างๆ ควรติดอยู่กับที่ ไม่ควรหลวมจนหลุด เพราะถ้าหากหลุดแล้วอาจไปทำให้ตัวรถเพื่อการเกษตรเกิดความเสียหายในระหว่างการใช้งานและอาจเกิดอุบัติเหตุกับคนขับหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้
น้ำมันหล่อลื่นเพื่อส่วนต่างๆ ของรถ
แม้ว่าจะเป็นรถเพื่อการเกษตรแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าส่วนหนึ่งคือมีกลไกการทำงานใกล้เคียงกันกับรถยนต์ ดังนั้นผู้ใช้งานควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำมันต่างๆ ในรถเพื่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์ที่จะต้องอยู่ในระดับ ไม่ต่ำกว่าขีด น้ำระบายความร้อนของเครื่องยนต์จะต้องอยู่ห่างจากคอหม้อน้ำประมาณ 1-2 นิ้ว ไม่ควรสูงไปกว่านี้เพราะจะทำให้ขณะที่กำลังใช้งานเครื่องอยู่น้ำจะมีอุณหภูมิสูง เกิดการขยายตัวและหกออกมาภายนอกได้
จาระบีคือหัวใจสำคัญ
อีกหนึ่งการดูแลที่แนะนำให้ทำกับรถเพื่อการเกษตรในชีวิตประจำวันก็คือการหมั่นทำความสะอาดหัวจาระบีและหมั่นเติมจาระบีเพื่อใช้ในส่วนของการหล่อลื่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพาน ผ้าเบรก ฯลฯ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นการเติมในปริมาณที่พอดี ต้องมั่นใจว่าจาระบีที่เติมเข้าไปนั้นมีความสะอาด เพื่อป้องกันการเจือปนในส่วนอื่นๆ และอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายในภายหลังได้
ในท้ายที่สุดแล้วหากเป็นไปได้ควรบำรุงรักษารถเพื่อการเกษตรตามชั่วโมงการใช้งาน เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องเช็กระยะหรือตรวจสภาพการใช้งานรอบใหญ่ๆ แนะนำว่าให้รีบนำไปตรวจเช็กตามกำหนด เนื่องจากจะมีความละเอียดมากกว่าการตรวจเช็กในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยในการยืดอายุการใช้งานรถเพื่อการเกษตรให้นานมากขึ้นไปอีกด้วย